วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ส่งาน อ.วิเชียร ศรีพระจันทร์

1.ให้บอกความแตกต่างหรือความคล้ายกันของ Blog,Twitter,Facebook?

ตอบ ข้อเหมือนกัน คือ เป็นการสร้างชุมชนออนไลน์เหมือนกัน

ข้อแตกต่าง คือ

" บล็อก"(Blog) บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถสร้างและจัดหน้าตาที่แสดงของเรื่องที่เขียนได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก

"ทวิตเตอร์ "( Twitter) ทวิตเตอร์ ก็คล้ายๆ กับบล็อก เพียงแต่ใส่ ข้อมูล ได้สั้นกว่า ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ twit-ter.com ก็ใช้งานได้ติดตาม ข้อความในทวิตเตอร์ได้ จากโทรศัพท์มือถือ ผู้ส่งข้อความ อาจส่งข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร แต่ข้อดีคือติดตามอ่านได้ทุกเวลา สั้น ง่าย และรวดเร็ว ทวิตเตอร์ ถูกใช้ในการนัดชุมนุม เผยแพร่ข้อมูล ส่งที่อยู่เว็บฯที่มีการโพสต์ภาพ หรือวีดิโอคลิป เป็นหลักฐานแสดงถึงการใช้ความรุนแรงในการเข้าปราบปรามจากเจ้าหน้าที่รัฐ

"เฟซบุ๊ก" (Facebook) เป็นเว็บไซท์ข้อมูลของคุณเอง และนำไปเชื่อมโยงกับ หน้าโปรไฟล์ face book ของคนอื่นๆ เพื่อให้คุณสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ สามารถส่งข้อความพูดคุยกับเพื่อนตัวต่อตัว หรือจะส่งข้อความหาเพื่อนกลุ่มใหญ่ในครั้งเดียวก็ทำได้ Face book จะเน้นในเรื่องของแอพพลิเคชั่น และการใช้งานที่ดูเป็นทางการ Face book คือ ผู้ใช้งานต้องใช้ชื่อจริง และ E-mail เดียวกันในการลงทะเบียน Skin ของ Face book นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่มีข้อดีคือ มีโทนสีที่สว่าง ทำให้ผู้ใช้ทุกช่วงอายุ สามารถอ่านได้อย่างสบายตา จะเป็นสื่อในการส่งข้อความแล้ว เรายังสามารถใช้เว็บสังคมออนไลน์เป็นที่ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับองค์กรที่เราทำงาน เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เราใช้ หรือเกี่ยวกับการเมือง เป็นเว็บที่นิยมกันทั่วโลกทำให้เราสามารถมีการแลกเปลี่ยนสื่อสารภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นเว็บที่เป็นกลไกในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารดีๆ เกี่ยวกับองค์กรของตนเองไปยังบุคคลต่างๆ รอบๆ ตัวเรา

2.จงอธิบายวิธีการใช้และประโยชน์ของ RFID ให้เข้าใจ?

RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็น ระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาน ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน RFID ใน ปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมลูของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไหร่ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุบันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียน ข้อมูล

RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ดดังนี้

- มี ความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละ ชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping Unit - ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม
- ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า
- สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID
- สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Non-Line of Singht)
- ค่า เฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์
- สามารถ เขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า ซึ่งคิดเป็นประมาณ 5% ของรายรับของบริษัท
- สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด
- ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์
- ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ* ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก

ลักษณะการทำงานของระบบ RFID

หัวใจ ของเทคโนโลยี RFID ได้แก่ "Inlay" ที่บรรจุอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์กับโลหะที่ยืดหยุ่นได้สำหรับการติดตาม หรือทำหน้าที่เป็นเสาอากาศนั่นเอง Inlay มีความหนาสูงสุดอยู่ที่ 0.375 มิลลิเมตร สามารถทำเป็นแผ่นบางอัดเป็นชั้น ๆ ระหว่างกระดาษ, แผ่นฟิล์ม หรือพลาสติกก็ได้ ซึ่งเป็นการผลิตเครื่องหมายหรือฉลาก จึงทำให้ง่ายต่อการติดเป็นป้ายชื่อหรือฉลากของชิ้นงานหรือวัตถุนั้น ๆ ได้สะดวก
องค์ประกอบในระบบ RFID จะมีหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือส่วนแรกคือฉลากหรือป้ายขนาดเล็กที่จะถูกผนึกอยู่กับวัตถุที่เราสนใจ โดยฉลากนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นๆ เอาไว้ ฉลากดังล่าวมีชื่อเรียกว่า ทรานสพอนเดอร์ (Transponder, Transmitter & Responder) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า"แท็กส์"(Tag)ส่วนที่สองคืออุปกรณ์สำหรับอ่าน หรือเขียนข้อมูลภายในแท็กส์ มีชื่อเรียกว่า ทรานสซิฟเวอร์ (Transceiver,Transmitter & Receiver) หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปว่า "เครื่องอ่าน" (Reader)
ทั้งสองส่วนจะสื่อสารกันโดยอาศัยช่องความถี่วิทยุ สํญญาณนี้ผ่านได้ทั้งโลหะและอโลหะแต่ไม่สามารถติดต่อกับเครื่องอ่านให้อ่าน ได้โดยตรง เมื่อเครื่องอ่านส่งข้อมูลผ่าน่ความถี่วิทยุ แสดงถึงความต้องการข้อมูลที่ถูกระบุไว้จากป้าย ป้ายจะตอบข้อมูลกลบและเครื่องอ่านจะส่งข้อมูลต่อไปยังส่วนประมวลผลหลักของ คอมพิวเตอร์ โดยเครื่องอ่านจะติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์โดยผ่านสายเครือข่าย LAN (Local Area Network) หรือส่งผ่านทางความถี่วิทยุจากทั้งอุปกรณ์มีสายและอุปกรณ์ไร้สาย
ปัจจุบัน มีการนำ RFID มาใช้งานกันในงานหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในบัตรชนิดต่างๆ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรเอทีเอ็ม บัตรสำหรับผ่านเข้าออกหัองพัก บัตรโดยสารของสายการบิน บัตรจอดรถ ในฉลากของสินค้าหรือแม้แต่ใช้ฝังลงในตัวสัตว์เพื่อบันทึกประวัติ เป็นต้น การนำ RFID มาใช้งานก็เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการผ่านเข้าออกบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือเพื่ออ่านหรือเก็บข้อมูลบางอย่างเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีที่เป็นฉลากสินค้า RFID ก็จะถูกนำมาใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เพื่อให้สามารถทราบถึงที่มาที่ไปของสินค้าชิ้นนั้นๆ ได้ เป็นต้น สำหรับรูปแบบของเทคโนโลยี RFID ที่ใช้ในการดังกล่าวก็มีทั้งแบบสมาร์ทการ์ดที่สามารถถูกเขียนหรืออ่านข้อมูล ออกมาได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัสกับเครื่องอ่านบัตรหรือคอนแทคเลสสมาร์ทการ์ด (Contact Less Smart card), เหรียญ, ป้ายชื่อหรือฉลากซึ่งมีขนาดเล็กมากจนสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษ หรือฝังเอาไว้ในตัวสัตว์ได้เลยที่เดียว
การ พัฒนาระบบ RFID มิได้มีจุดประสงค์เพื่อมาแทนที่ระบบอื่นที่มีการพัฒนามาก่อนหน้า เช่น ระบบบาร์โค้ด แต่เป็นการเสริมจุดอ่อนต่างๆ ของระบบอื่นในประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี RFID ในหลากหลายด้านทั้งใช้ในด้านการขนส่ง (บัตรทางด่วน บัตรโดยสารรถไฟฟ้า) ด้านการปศุสัตว์ (การให้อาหาร การติดตามโรค) ใช้กับเอกสารราชการ (บัตรพนักงาน บัตรจอดรถ) และการใช้ RFID เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้าน Logistics โดยใช้ผนึกอิเล็กทรอนิกส์ติด RFID ปิดล็อคตู้คอนแทนเนอร์เพื่อสะดวกในการติดตาม บริหารจัดการขนส่ง ด้านการแพทย์ (บันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วย) หรือแม้แต่ในงานของห้องสมุด

3.ให้ตอบคำถามกรณีเรื่อง Iberry และ การบินไทย?

3.1.ร้านไอศกรีม iberry นำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการในการบริการ การขายอย่างไรบ้าง?

-ได้นำเครื่องผลิตไอศกรีมโดยเฉพาะมาจากต่างประเทศ ซึ่งเครื่องนี้จะระบุได้ว่าจะผลิตไอศกรีมแต่ละรสจำนวนกี่กิโลกรัม ใช้เครื่องตักดิจิตอลในการคำนวณว่าจะตักวัตถุดิบแต่ละอย่างจำนวนเท่าไร และการคำนวณเวลาหาค่าเวลาและอุณหภูมิที่ต้องใช้ ซึ่งระบบจะมีการควบคุมที่แม่นยำ
-ใช้เซนเซอร์ในการควบคุมความเย็นด้วยการติดตั้งตัวเซนเซอร์ที่ตู้ไอศกรีมแต่ละสาขาที่มีและมีระบบความปลอดภัยและระบบศูนย์ควบคุมสั่งการ หากอุณหภูมิหรือกระแสไฟฟ้าในตู้ผิดปกติหรือเปลี่ยนแปลงไป ตัวเซนเซอร์จะส่งสัญญาณไปที่กล่องควบคุมซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับระบบโทรศัพท์ เพื่อโทรศัพท์แจ้งไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุของบริษัท ซึ่งที่ศูนย์จะมีพนักงานคอยดูแล 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบปัญหาและปฏิบัติการแก้ไขตามขั้นตอนที่ทาง iberry กำหนดไว้เมื่อเกิดเหตุผิดปกติในแต่ละสาขา
-ซอฟต์แวร์บริหารร้านเพื่อแผนการตลาดที่ดี ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจอาหาร ซึ่งระบบจะส่งข้อมูลยอดขายในแต่ละวันของแต่ละสาขาออนไลน์ไปรวมกันที่สำนักงานใหญ่ทุกสิ้นวัน ทำให้ได้รับข้อมูลการขายและข้อมูลต่างๆ สามารถรู้ว่าในหนึ่งวันหรือหนึ่งปีมีอะไรถูกขายไปบ้าง แยกเป็นอะไรบ้าง ตัวไหนขายดี ช่วงไหนอะไรขายดี หรือหน้าหนาวขายดีหรือไม่ ทำให้สามารถรู้ว่าจะวางแผนการตลาดอย่างไร เมื่อมีระบบเราจะรู้ว่าเราขายได้เท่าไร ขายอะไรได้บ้าง จากจุดนี้สามารถรู้แนวทางสำหรับวางแผนการตลาดที่ดีได้

3.2.ผู้บริหารสามารถใช้ ICT ตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้อย่างไร อธิบาย?

ผู้บริหารสามารถใช้ ICT ในเรื่องของการจัดการแบ็กออฟฟิศให้ดีขึ้น สามารถติดตาม ตรวจสอบข้อมูลได้มากขึ้น เพื่อการบริหารงานในลักษณะที่เจาะลึกขนาดที่ว่า ไอศกรีมถาดนี้ใช้วัตถุดิบอะไรบ้างในการผลิต แต่ละชนิดจะผลิตส่งมาเท่าไร เมื่อไร และสามารถกลับไปตรวจสอบได้ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตได้เลย ถ้ามีปัญหาสามารถดึงเอาไอศกรีมเหล่านั้นกลับมาตรวจสอบได้ทันเวลา เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และเป็นการรับประกันคุณภาพของไอศกรีม iberry ด้วย และยังมีการติด CCTV เพื่อดูแลและติดตามพฤติกรรมของพนักงานภายในร้านทุกสาขาได้ตลอดเวลาไม่ว่าเจ้าของร้านจะอยู่ส่วนไหน เพียงมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ก็พอเพื่อดูว่าเด็กที่ร้านทำอะไรอยู่ หรือมีพฤติกรรมอย่างไร สามารถช่วยแก้ปัญหาที่ iberry มีหลายสาขาซึ่งเจ้าของธุรกิจไม่สามารถเข้ามาดูแลได้ทุกสาขาด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี

การบริหารการจัดการใช้ ICT ของบริษัทการบินไทย

บริษัทการบินไทยนำ ICT มาใช้ในการบริหารธุรกิจการบินอย่างไรบ้าง?

นำมาใช้ในเรื่องการจองตั๋วเครื่องบิน การเช็คอิน และการบริการต่างๆในระบบงานที่ใหญ่โตและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดขององค์กรจำเป็นต้องมีแผนการ หรือมาตรการที่จะมารองรับกับสถานะการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบให้เกิดความเสียหายได้ มีระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมีการนำเอาระบบอีคอมเมิรซ์มาใช้ในการบริการผู้โดยสาร ผู้โดยสารสามารถสำรองที่นั่งผ่านทางเว็บไซน์ของการบินไทยได้เลย ด้วยเหตุนี้เองผู้โดยสารสามารถเลือกดูเที่ยวบิน วันเวลา ราคาบัตรโดยสาร สำรองที่นั่ง หรือยกเลิกการสำรองที่นั่ง ได้อย่างสะดวกสบายและง่ายดายตลอด 24 ชั่วโมง และระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการยกหูโทรศัพท์เพื่อสำรองที่นั่งผ่านทางสำนักงานของการบินไทย หรือผ่านทางตัวแทนจำหน่าย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเพื่อไปจองตั๋วโดยสาร

จงอธิบายคำต่อไปนี้ Diaster Recovery, Transaction Processing, Virtual Tape Server, Data Recovery, Royal e-Ticketing?

-Diaster Recovery หมายถึง เป็นการวางแผนเพื่อรองรับการเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว
-Transaction Processing หมายถึง การประมวลผลข้อมูลด้วยการนำแฟ้มข้อมูลที่บรรจุรายการเปลี่ยนแปลง หรือรายการแก้ไข อ่านเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อปรับปรุงรายการในแฟ้มข้อมูลหลัก (master file)
-Virtual Tape Server หมายถึง ระบบเทปเสมือนใช้การรวมกันของ RAID ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีเทปสูงเพื่อเก็บข้อมูลในเทปมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมวิธี By first staging data in RAID, the virtual tapeโดยข้อมูลการแสดงละครครั้งแรกใน RAID เทปเสมือน
-Data Recovery หมายถึง การกู้ข้อมูลรูปภาพสำคัญ ๆ ที่โดนลบโดยบังเอิญ การป้องกันระบบการป้องกันภัยและกู้คืนระบบที่สำคัญต่างๆเพื่อความสำคัญของระบบธุรกิจที่สำคัญเวลาสูญหายไป ก็สามารถนำมากู้คืนระบบได้ เพื่อป้องกันการสูญสลายไปกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่างๆได้
-Royal e-Ticketing หมายถึง ระบบโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการยกหูโทรศัพท์เพื่อสำรองที่นั่งผ่านทางสำนักงานของการบินไทยหรือผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเพื่อไปจองตั๋วโดยสารให้เสียเวลา ประหยัดเวลาในการเดินทางอีกด้วย และการเดินทางโดยไม่ต้องถือบัตรโดยสารเพราะอาจจะประสบปัญหาความแตกต่างทางด้านเทคโนโลยีและกฏหมายในแต่ละประเทศ